JavaScript คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

สำหรับผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการทำเว็บไซต์ก็คงจะเคยได้ยินคำว่า JavaScript กันมาบ้าง แล้วจาวาสคริปต์ที่ได้ยินมานี้คืออะไรกันแน่ และมีประโยชน์อย่างไร มาหาคำตอบในบทความนี้กัน

JavaScript คืออะไร?

จาวาสคริปต์ (JavaScript) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมบนระบบของอินเทอร์เน็ต ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จาวาสคริปต์ เป็นภาษาสคริปต์ในเชิงวัตถุ สำหรับการสร้างและการพัฒนาเว็บไซต์ เพื่อให้เว็บไซต์ดูมีการเคลื่อนไหว สามารถตอบสนองผู้ที่เข้ามาใช้งานในเว็บไซต์ได้มากขึ้น จะมีวิธีการทำงานที่เป็นลักษณะการแปลความและดำเนินงานทีละคำสั่ง หรือที่เรียกกันว่าอ็อบเจ็กโอเรียลเต็ด (Object Oriented Programming) ซึ่งจะมีเป้าหมายออกแบบและพัฒนาโปรแกรมที่อยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต สำหรับผู้ที่ใช้การเขียนด้วยภาษา HTML ก็สามารถที่จะทำงานข้ามแพลตฟอร์มได้ ซึ่งจะทำงานร่วมกันกับ ภาษา Java และภาษา HTML โดยจะได้ทั้งฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (Server) และฝั่งไคลเอนต์ (Client)

ประโยชน์ของจาวาสคริปต์

  • จาวาสคริปต์ สามารถที่จะเขียน หรือทำการเปลี่ยนแปลง HTML Element ได้ โดยสามารถเปลี่ยนแปลงการแสดงผลของเว็บไซต์ได้ หรือทำให้หน้าแสดงเนื้อหาสามารถที่จะซ่อนหรือแสดงเนื้อหาออกมาได้อย่างง่ายๆ
  • สามารถที่จะเขียนโปรแกรมได้แบบง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องใช้ภาษาอื่นๆ
  • จาวาสคริปต์ จะมีคำสั่งที่สามารถตอบสนองต่อผู้ใช้งาน เช่น เมื่อผู้ใช้งานทำการคลิกปุ่ม หรือทำการ Checkbox ก็สามารถที่จะสั่งเพื่อให้เปิดหน้าใหม่ได้ ส่งผลให้เว็บไซต์มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้มากขึ้น ซึ่งก็เป็นข้อดีของจาวาสคริปต์ ที่ทำให้เว็บไซต์ต่างๆหันมาใช้งาน
  • จาวาสคริปต์ ใช้สำหรับการตรวจสอบข้อมูลได้ หากเรากรอกข้อมูลบางอย่างในเว็บไซต์ เช่น อีเมล รหัสผ่าน หากเรากรอกข้อมูลผิด ก็จะมีหน้าต่างขึ้นมาว่าเรานั้นกรอกผิด หรือลืมกรอกข้อมูลบางอย่างให้ครบถ้วน เป็นต้น
  • จาวาสคริปต์ สามารถสร้างคุกกี้ (Cookies) หรือเป็นการเก็บข้อมูลการท่องเว็บของผู้ใช้งานได้
  • จาวาสคริปต์ ใช้ในการตรวจสอบผุ้ใช้งานได้ เช่น ใช้ตรวจสอบว่าผู้ใช้งาน ใช้เว็บเบราว์เซอร์อะไร

ข้อจำกัดของจาวาสคริปต์

สำหรับการทำงานของจาวาสคริปต์ จะเกิดขึ้นที่บราวเซอร์ ที่เรียกว่า client-side script ไม่ว่าจะใช้เซิร์ฟเวอร์อะไร ก็ยังสามารถใช้จาวาสคริปต์ในเว็บเพจได้ ซึ่งจะแตกต่างจากภาษาสคริปต์ในแบบอื่นๆ เช่น ASP, PHP, Perl โดยจะต้องแปลความและทำงานที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ จึงจำเป็นต้องใช้บนเซิร์ฟเวอร์ ที่มีการสนับสนุนภาษาเหล่านี้เท่านั้น

จากลักษณะที่กล่าวมาจะทำให้จาวาสคริปต์มีข้อจำกัด ไม่สามารถรับและส่งข้อมูลกับเซิร์ฟเวอร์โดยตรงได้ เช่น อ่านไฟล์จาก server เพื่อมาแสดงที่เว็บเพจ หรือการรับข้อมูลที่ได้จากผู้ชม เพื่อนำไปเก็บที่ server เป็นต้น งานในลักษณะนี้ ก็ยังต้องอาศัยภาษา server-side script อยู่

โค้ดที่เป็นจาวาสคริปต์นั้นมีอยู่ด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นหากอยากเก่งในด้านนี้ก็ต้องอาศัยการเรียนรู้และลงมือทำให้มาก เพราะรายละเอียดของโค้ดนั้นมีเยอะมากมายพอสมควร